เหล่าช่างภาพหัวรั้น ที่ไม่ยอมหันหลังให้กล้องฟิล์ม

แปลจากบทความ The photographers who refuse to abandon traditional film cameras ของ BBC

_82379394_camerafilm

จริงๆแล้ว การถ่ายรูปด้วยฟิล์ม ควรจะตายไปด้วยน้ำมือของยุคแห่งการถ่ายรูปดิจิตอลไปแล้ว แต่เหล่าบรรดาผู้คลั่งไคล้ฟิล์ม กลับยังไม่ยอมทิ้งสิ่งที่พวกเขารักไป. Stephen Dowling จะมาหาคำตอบกันว่า ทำไม? ฟิล์มถึงยังคงอยู่ในกระแสได้

Patrick Joust ช่างถ่ายภาพที่ใช้เวลาหมดไปกับการเดินถ่ายภาพความเป็นไปบนท้องถนนในบัลติมอร์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตของผู้คนทั้งกลางวันและกลางคืน แน่นอนว่าเขาถ่ายมันทั้งหมดด้วยฟิล์ม

“มันช่วยให้การทำงานของผมเป็นไปด้วยดี และเป็นไปอย่างที่ต้องการ” Joust ซึ่งมักจะแบกเอากล้องสามตัวไปบนถนน โดยใช้ฟิล์มแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป

“กล้องเก่าๆพวกนี้ ช่วยให้คนที่ผมถ่าย ไม่รู้สึกตื่นเกินไป ซึ่งก็ช่วยให้ได้ภาพ Portrait ดีๆเยอะเลย นอกจากการที่มันดูไม่เป็นพิษเป็นภัยแล้ว มันยังทำหน้าที่ได้ดีสำหรับผมด้วย”

Joust ปฏิเสธการเปลี่ยนไปใช้กล้องดิจิตอลอย่างสิ้นเชิง แม้ว่าทุกวันนี้ ใครๆก็ต้องใช้กล้องดิจิตอลกัน

_82365334_pj7

ซึ่งก็เลยกลายเป็นว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งในกระแสที่เติบโตขึ้นของช่างถ่ายภาพที่พยายามรักษาการถ่ายรูปด้วยฟิล์มเอาไว้

หลายๆคนก็เป็นช่างภาพที่หันกลับมาใช้ฟิล์มอีกครั้งเช่นกัน แต่มีอีกมากทีเดียวที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ ที่เด็กมากซะจนเพิ่งเคยใช้กล้องฟิล์มเป็นครั้งแรก และคนเหล่านี้แหล่ะ ที่กลายเป็นหัวเชื้อสำคัญในการทำให้การถ่ายรูปด้วยฟิล์มมันเติบโตขึ้น จนกลายเรี่ยวแรงสำคัญในการจัดวัน Film Photography Day ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 11 เมษายน เป็นวันแห่งการปลุกให้ช่างถ่ายภาพหันหน้าจากกล้องดิจิตอลมาสู่กล้องฟิล์ม

_82365335_pj10

Edgar England ผู้จัดการ London’s West End Cameras ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับฟิล์มถ่ายรูป และการล้างฟิล์ม ได้บอกไว้ว่า ในช่วงสิบปีก่อน ฟิล์มหลายๆร้อยลัง อาจจะต้องใช้เวลาขายออกไปสัก 6 สัปดาห์กว่าจะหมด แต่ทุกวันนี้ ใช้เวลาแค่ไม่กี่วันเท่านั้น

ร้านของเขาขายสินค้าสำหรับที่ใช้ในห้องมืดต่างๆ และหลังเคาน์เตอร์ก็เต็มไปด้วยฟิล์มหลากหลายแบบ ในแลปของเขาก็ยังใช้ล้างฟิล์มขาวดำด้วยมืออีกด้วย การถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอลได้รับความนิยมมากขึ้นๆ ซึ่งมันแทรมซึมเข้าไปถึงแม้แต่ในมือถือทุกวันนี้

“ทุกๆคนมีมือถือกันหมด ซึ่งมันก็ถ่ายรูปได้สวย และใครๆก็พอใจกับภาพสวยๆพวกนั้น”

_82365336_pj2

คล้ายๆกับการฟื้นคืนชีพของแผ่นเสียงก่อนหน้านี้ สัญญาณเหล่านี้มันเริ่มเห็นได้อย่างชัดเจนในอังกฤษสักช่วงกลางยุค 2000s

แต่สัญญาณของการสิ้นสุดยุคของฟิล์ม เริ่มต้นให้เห็นตั้งแต่สมัยปี 1975 ในเดือนธันวาคมปีนั้น Steve Sasson ยังเป็นวิศวกรหนุ่มที่ทำงานอยู่ในบริษัท Kodak ยักษ์ใหญ่ในวงการภาพตอนนั้น กำลังสร้างต้นแบบของกล้องดิจิตอลอยู่ มันมีน้ำหนักประมาณ 8 ปอนด์และสามารถเก็บภาพเป็นขาวดำลงในเทปได้ แต่การสร้างต้นแบบของ Sasson ครั้งนั้นก็กลับกลายเป็นการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ กล้องดิจิตอลได้ถือกำเนิดขึ้นมา

_82365330_girl-drinking

การปิดฉากของกล้องฟิล์มคืบคลานเข้ามา ช่วงต้นยุค 2000s กล้องดิจิตอลมีราคาถูกลงจนสามารถแทนที่กล้องคอมแพคฟิล์มธรรมดาๆได้ ใครๆก็พกกล้องดิจิตอลไปเที่ยวกัน และต่อมา กล้อง DSLR ก็เริ่มมีพลังมากพอจะมาแทนที่กล้องสำหรับมืออาชีพได้อย่างเต็มตัว

เวลาไม่นาน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกี่ยวกับฟิล์มทั้งหมด ก็ล้มต่อกันเป็นโดมิโน่ การผลิตฟิล์มหลายร้อยล้านม้วน ร้านรวงต่างๆบนถนน ทั้งร้านขายกล้อง แลบล้างฟิล์ม ต่างปิดตัวลง

สมาร์ทโฟนพัฒนาตัวเองจนสามารถมีความสามารถเดียวกันกับกล้องดิจิตอล เล็กพอจะใส่ในกระเป๋าเสื้อได้สบายๆ กลายเป็นเรื่องธรรมดามากๆในชีวิตเรา

_82379391_dowling-1
_82379228_dowling-2
_82379392_dowling-3

ไม่มีใครจะมานั่งโหลดฟิล์มลงกล้องเพื่อถ่ายรูปอีกต่อไป ไม่มีใครใช้ฟิล์มถ่ายช่วงเวลาดีๆ ไม่มีใครมานั่งเลือกรูปที่ดีที่สุดกันหน้าดำคร่ำเครียดเพื่อปริ๊นท์รูปในแลป ไม่ต้องใช้ฟิล์มที่อาจจะเป็นรอย หายบ้าง หรือฝุ่นเกาะ

กล้องดิจิตอลช่างสะดวกสบายกว่ามาก แล้วทำไมยังจะต้องไปใช้ฟิล์มกันอีกล่ะ? ไม่ต้องปวดหัว หรือถ่ายรูปแล้วเสีย? แต่เหตุผลเหล่านี้ก็ใช้ไม่ได้กับช่างถ่ายภาพบางส่วน

ช่างภาพบางคนยังรักที่ใช้กล้องระบบ Large Formats (ซึ่งคุณภาพขนาดนี้ เทคโนโลยีของดิจิตอลจะต้องลงทุนมหาศาล) ในขณะที่บางคนก็รักในเกรนบนภาพของฟิล์ม หรือสีที่ไม่จัดจ้าน สีที่ดูจริงกว่าของฟิล์ม บางคนก็ชอบที่จะควบคุมการล้าง การอัดรูปด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะถ่าย จะล้างฟิล์มเอง ปริ๊นท์ภาพเองในห้องมืดอย่างช้าๆ จนค่อยๆเกิดเป็นภาพ ดูเหมือนการร่ายมนต์อย่างนั้นเลย

เป็นเวลากว่าร้อยปี ช่างภาพฟิล์มมากมายปวดหัวกับการใช้กล้องฟิล์ม ตั้งแต่ยุคแรก ยุคกล้อง Kodak Brownie ไปจนกล้อง SLR และปูทางไปยังกล้องดิจิตอล กล้องในประวัติศาสตร์เหล่านั้นก็ถูกเก็บใส่ตู้ปิดตายไป หรือไม่ก็ขายทิ้ง

ข้อดีของการที่ยังใช้กล้องฟิล์มอยู่คือ ครั้งหนึ่งกล้องฟิล์มพวกนี้เคยราคาล่วงจนแทบไม่มีค่า มันมีเกลื่อนตลาดไปหมด ใครๆก็พากันขาย ไม่ว่าจะกล้องรัสเซียไปยันกล้องระบบ Medium Format คุณภาพสูงอย่าง Hasselblads ดูเหมือนว่าเป็นการล่มสลายของยุคสมัยของกล้องฟิล์ม

_82648179_1abiss624

แม้แต่หัวหอกของการนำฟิล์มกลับมาอีกครั้งอย่าง Film’s not Dead อย่าง Charlie Abbiss และ Tori Khambhaita ทั้งคู่เคยทำงานในแลปฟิล์ม และก็ต้องตกงาน จนพวกเขาต้องมาขายกล้องและฟิล์มให้พออยู่รอดและเพื่อสร้างงาน Exhibition ในร้านที่ลอนดอน ให้ได้

“พวกเรามีลูกค้าวัยรุ่นที่ซื้อกล้องฟิล์มเป็นตัวแรกในชีวิตจากพวกเราเยอะ และตอนนี้ลูกค้าก็เริ่มขยับขยายตัวเองไปสู่การสร้างห้องมืดเอง” Abbiss บอกอย่างนั้น แต่เขาก็ยังบอกว่า นอกจากคนรุ่นใหม่ที่หันมาเล่นแล้ว ช่างภาพหน้าเก่าๆก็เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้กัน

_82648176_2abiss624

“สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นจุดสำคัญในการทำให้ฟิล์มกลับมาได้ คือการที่คนรุ่นเก่าทั้งผู้หญิงผู้ชาย ต้องการจะใช้ฟิล์มอีกครั้ง ไม่ว่าจะถ่าย ล้าง อัดรูปก็ตาม”

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ขั้นตอนการถ่ายรูปด้วยฟิล์ม มันช้าไปหมด มันแตกต่างกับยุคสมัยตอนนี้เอามากๆ กว่าเราจะเอาฟิล์มออกจากกล่อง กว่าจะโหลดฟิล์มลงไป กว่าจะถ่าย กว่าจะขึ้นฟิล์ม ไม่มีจอให้ดู จะลบรูปที่ไม่ชอบทิ้งก็ไม่ได้ กล้องฟิล์มบังคับให้เราถ่ายๆรูปอย่างเดียว โดยไม่ไขว้เขวกับสิ่งรอบข้าง

เทคนิคหลายๆอย่างที่ฮิตๆของกล้องดิจิตอลเอง ก็เรียกว่าหยิบยืมมาจากกล้องฟิล์มหลายๆอย่าง อย่างที่ฮิตกันพวก Filter ต่างๆใน Instagram เอง ก็เป็นการเลียนแบบการถ่ายแบบ Lomography ซึ่งเป็นการใช้กล้อง Toy กล้องป๊อกแป๊กทั้งหลาย ฟิล์มหมดอายุ หรือการล้างครอสฟิล์ม (การล้างด้วยน้ำยาผิดประเภท) ทำให้ได้สีประหลาดๆ

บริษัทผลิตฟิล์มหลายแห่ง เงียบหายไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่พวกเค้าก็ยังอยู่รอดมาได้โดยการเลิกการผลิตสินค้าที่ไม่ได้รับความนิยมเหมือนสมัยก่อน อย่างเช่นฟิล์มที่ช่างภาพ National Geographic ชอบใช้กันอย่าง Kodachrome ก็เลิกผลิตไปเป็นสิบปีแล้ว

_82648178_3abiss624

แต่ถึงยังไง Kodak ก็ยังผลิตฟิล์มต่อไป รวมถึงบริษัทจากฝั่งอังกฤษที่เป็นเจ้าพ่อแห่งวงการภาพขาวดำอย่าง ILFORD ก็ยังไปได้ดีในรอบสิบปีให้หลังมานี้ จากสภาวะล้มละลาย

เหตุการณ์คล้ายคลึงกันก็เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อปีก่อน เมื่ออดีตพนักงานของ Ferrania บริษัทผลิตฟิล์มยักษ์ใหญ่ของโลกในอดีต (อ่านเรื่องราวที่น่าตื่นตาของการระดมทุนปลุกโรงงานขนาดยักษ์ที่หลับใหลได้จาก “กว่า 100 ปี แห่งยุคฟิล์มอนาลอค : บทสัมภาษณ์ FILM FERRANIA ประกาศแผนการกลับสู่สังเวียน” ) ตัดสินใจรวมตัวกันเปิดโปรเจคกับทาง Kickstarter เพื่อระดมทุนช่วยกู้เครื่องจักรหลักร้าง ที่ใช้ผลิตฟิล์มขนาดใหญ่ ถ้าเป็นเมื่อ 5-6 ปีก่อน ใครๆก็คงคิดว่าพวกนี้บ้าแน่ๆ

ในขณะที่เราเห็นการล้มหายตายจากไปของแบรนด์ต่างๆ ในทางตรงข้ามกัน ก็มีอีกหลายบริษัทกลับเกิดขึ้นมากหน้าหลายตา เช่น Adox ในเยอรมัน , Agfa-Gevaert ในเบลเยี่ยม และอีกหนึ่งบริษัทที่น่าจับตา CineStill ที่ผลิตฟิล์มจากฟิล์มถ่ายหนังของ Kodak ซึ่งเป็นฟิล์มที่ผู้กำกับดังๆอย่าง Quentin Tarantino และ Christopher Nolan ชอบใช้

Joust ก็ยังคงยึดมั่นกับการใช้ฟิล์มถ่ายรูป ถ่ายภาพชีวิตที่เป็นไปในบัลติมอร์

“บางคนก็อาจจะแนะนำช่างปั้นว่าใช้เหล็กหรือไม่ก็ไม้ ว่ามันดีอย่างนั้นอย่างนี้” Joust พูด “แต่ถ้าเขาอยากจะใช้ดินปั้น ไอ้ที่ว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่ได้สำคัญอะไร เพราะมันก็ไม่เหมือนกันอยู่ดี”

บทความ โดย SUN

ผู้สนับสนุนหลัก  Husband and Wife Shop

จำหน่ายอุปกรณ์ถ่ายภาพฟิล์มกล้องอุปกรณ์ล้างฟิล์มสแกนฟิล์มและบริการต่างๆ

One Comment Add yours

  1. patcha klanarong says:

    บทความอ่านสนุกน่าติดตามมากค่ะ

Leave a Reply