สมัยก่อน สมัยยุคกล้องฟิล์มรุ่งเรือง ก่อนโลกจะมี Photoshop ก่อนจะมี App ฟรุ้งฟริ้ง การถ่ายรูปแล้วจะมาแต่งภาพโน่นนั่นนี่ วิ๊งๆ ใส่สติ๊กเกอร์กรุ๊กกริ๊ก แบ๊วๆ หรืออะไรแนวๆนี่ยากกก โดยเฉพาะกับคนถ่ายรูปทั่วๆไป แค่แสงรั่วมาในรูปได้นี่ก็ตื่นเต้นกันทั้งบ้านแล้ว ยิ่งมาเป็นเสมือนดวงวิญญาณในภาพนี่ยิ่งดูเจ๋งใหญ่ เอฟเฟคเดียวที่เรียกว่านิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะคงทำง่ายสุดกับกล้องฟิล์มทุกตัวเลย ก็คือ “ภาพซ้อน” ภาษาฝรั่งเรียกว่า “Double Exposure” ซึ่งมีน้องๆหลายคนที่เพิ่งหัดถ่ายกล้องฟิล์มมักจะถามถึง บางคนก็คิดว่าต้องใช้กล้องรุ่นไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า? ในความเป็นจริงแล้ว.. โดยหลักการกล้องฟิล์มทุกตัว “ต้องทำได้!” อาจจะมีบางตัวทำยากหน่อย แต่ก็คือทำได้อยู่ดี หลักการที่ว่านั่นก็คือ “การถ่ายซ้ำลงในเฟรมเดิม ก็โดยการถ่ายรูปที่ 1 แล้วขึ้นชัตเตอร์ใหม่เพื่อถ่ายรูปที่ 2 โดยไม่ให้ฟิล์มเลื่อนตาม” อันนี้คือหลักการ อธิบายอย่างนี้ก่อน เพื่อจะได้สามารถดัดแปลงตามแต่กล้องที่ใช้ได้นะ เอาล่ะ… ทีนี้มาถึงวิธีการถ่ายกันบ้าง เราอธิบายจากกล้องง่ายๆ พวก Rangefinder ละกัน เพราะน้องๆน่าจะใช้กันเยอะสุด และส่วนใหญ่ก็จะทำภาพซ้อนได้ง่ายสุด มาดูกันทีละขั้นตอน 1. เราก็ถ่ายรูปตามปกติเลย ขึ้นชัตเตอร์ , โฟกัส , ตั้งค่ารูรับแสง/ความเร็วชัตเตอร์…