เงินกู้นอกระบบ

อายุ
ไม่กำหนด
รายได้ต่อเดือน
ไม่กำหนด
วงเงินที่ได้รับ
ไม่กำหนด
ดอกเบี้ยต่อปี
ไม่กำหนด
ระยะเวลาผ่อนชำระ
ไม่กำหนด
อายุ
ไม่กำหนด
รายได้ต่อเดือน
ไม่กำหนด
วงเงินที่ได้รับ
ไม่กำหนด
ดอกเบี้ยต่อปี
ไม่กำหนด
ระยะเวลาผ่อนชำระ
ไม่กำหนด
อายุ
ไม่กำหนด
รายได้ต่อเดือน
ไม่กำหนด
วงเงินที่ได้รับ
ไม่กำหนด
ดอกเบี้ยต่อปี
ไม่กำหนด
ระยะเวลาผ่อนชำระ
ไม่กำหนด
อายุ
ไม่กำหนด
รายได้ต่อเดือน
ไม่กำหนด
วงเงินที่ได้รับ
ไม่กำหนด
ดอกเบี้ยต่อปี
ไม่กำหนด
ระยะเวลาผ่อนชำระ
ไม่กำหนด
อายุ
ไม่กำหนด
รายได้ต่อเดือน
ไม่กำหนด
วงเงินที่ได้รับ
ไม่กำหนด
ดอกเบี้ยต่อปี
ไม่กำหนด
ระยะเวลาผ่อนชำระ
ไม่กำหนด

เงินกู้นอกระบบคืออะไร

เงินกู้นอกระบบ คือ บริการยืมเงินรูปแบบหนึ่งที่ดำเนินระหว่าง 2 ฝ่ายได้แก่ บุคคลต่อบุคคล, บริษัทต่อบุคคล หรือบริษัทต่อบริษัท โดยรูปแบบของการให้บริการจะอยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้ ซึ่งผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบไม่ว่าจะในนามของบุคคลหรือในนามของบริษัท จะเป็นการให้บริการโดยไม่คำนึงว่ากฎหมายจะกำหนดไว้การคิดอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างไร ซึ่งผู้ปล่อยเงินกู้สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้เองตามที่เห็นสมควร ดังนั้นบริการเงินกู้นอกระบบจึงมักคิดอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเพื่อยอมรับความเสี่ยงในเม็ดเงินที่อาจสูญเสียไป

บริการเงินกู้นอกระบบแตกต่างจากเงินกู้ถูกกฎหมายอย่างไรบ้าง

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วกันอยู่แล้วว่าให้บริการเงินกู้นอกระบบเป็นบริการที่ผิดกฎหมาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าแล้วหากนำบริการเงินด่วนนอกระบบปล่อยจริงมาเปรียบเทียบกับบริการกู้เงินถูกกฎหมาย ทั้งสองบริการนี้จะมีจุดเด่นและความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะนำทุกท่านมาดูถึงความแตกต่างระหว่างบริการปล่อยเงินกู้นอกระบบและบริการสินเชื่อที่ถูกกฎหมายดังนี้

  1. การคิดอัตราดอกเบี้ยซ : ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากและเกินกว่าที่กฎหมายกหนด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะคิดอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบรายวันหรือรายเดือนซึ่งขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงของผู้กู้และผู้ให้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนนั้นอาจสูงถึงร้อยละ 5,10, 15 หรือ 20 ต่อวันหรือต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งต่างจากบริการสินเชื่อถูกกฎหมายจากธนาคารที่กำหนดไว้ว่า หากสินเชื่อเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล ดอกเบี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี 
  2. การกำหนดวงเงิน: สำหรับวงเงินที่ให้กู้ได้จากแหล่งเงินด่วนนอกระบบจะให้วงเงินที่ไม่สูงมากนักเพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีการเบี้ยวชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งแตกต่างจากกำหนดวงเงินของสินเชื่อจากแหล่งเงินถูกกฎหมายที่จะพิจารณาตามเกณฑ์คุณสมบัติของผู้กู้
  3. การทำสัญญากู้ยืมเงิน: แหล่งเงินทุนนอกระบบโดยส่วนใหญ่มักทำสัญญายืมเงินนอกระบบในลักษณะของการแจ้งจำนวนเงิน พร้อมทั้งกำหนดหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยหากลูกหนี้ได้เบี้ยวหนี้สินเชื่อนอกระบบที่ทำการกู้ไว้ เจ้าหนี้ที่เงินกู้นอกระบบก็จะทำการยึดทรัพย์สินโดยทันที แต่สำหรับการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่ถูกกฎหมาย สถาบันการเงินจะทำการติดตามทวงถามหนี้และหากรุนแรงสุดจะถึงขั้นฟ้องศาลในระดับต่อไป

บริการเงินกู้นอกระบบน่าเชื่อถือและดีไหม

หลายคนที่กำลังมองหาเงินกู้นอกระบบและกำลังลังเลว่าเงินกู้นอกระบบมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดนั้น อาจตอบได้ว่าเงินกู้นอกระบบเปรียบเสมือนกับการให้บริการยืมเงินในรูปแบบของบุคคลธรรมดาทั่วไป ที่พร้อมจะทำทุกวิถีทางในการทวงเงินที่ได้ปล่อยบริการออกไปคืนกลับมา ขึงเป็นที่มาของคำว่าทวงหนี้นอกระบบนั่นเอง ซึ่งหากถามต่อไปอีกว่าแล้วเงินกู้นอกระบบดีหรือไม่ไหมนั้นก็คงขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการรายใดมีความปราณีมากน้อยขนาดไหน และความจำเป็นที่ผู้กู้จำเป็นต้องใช้เงินนั้นด่วนมากหรือไม่ ซึ่งเราขอแนะนำว่าหากรอได้และยังพอมีเวลาอยู่ควรเลือกผู้ให้บริการกู้เงินถูกกฎหมายแทนที่การหันไปใช้บริการเงินด่วนนอกระบบดีกว่า

 

Scroll to Top